วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559


รีวิวการจัดสเปคคอมพิวเตอร์
                “สวัสดีคะเจอกันอีกแล้วนะคะ สำหรับวันนี้เราจะมารีวิวการจัดสเปคคอมพิวเตอร์ PC ด้วยงบประมาณไม่เกิน 17,500 บาท มาดูเว็บไซต์ที่เราใช้ในการจัดสเปคกันเล๊ยย http://notebookspec.com นั้นเองเรามาเริ่มกันเลย




   -->> CPU INTEL Core i3 - 6100 ซื้อในราคา 4,350 บาท





--->> Mainboard MSI H110M PRO-VH ในราคา 2,600 บาท





-->> Ram  G.SKILL SNIPER DDR3 8GB 2133 (4GBx2) SR



-->> VGA Card  HIS R7 250 IceQ Boost Clock  ราคา 2,960บาท


                                       

-->> Hard disk  Western Digital Purple 1TB 10PURX  ราคา 2,000 บาท



-->> Case THERMALTAKE Urban S31  ราคา 2,850 บาท



-->> Power supplyDELUX V6 550W ราคา 890 บาท




 ตัวอย่างถ้าเราต้องการจัดสเปคคอมพิวเตอร์ PC ด้วยงบประมาณไม่เกิน 21,000 บาท 



                                                 สำหรับวันนี้ขอบคุณค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

การทำงานของคอมพิวเตอร์ Booting Up



สวัสดีค่ะสัปดาห์นี้เราจะมาดูกระบวนการทำงานของความพิวเตอร์ว่าก่อนที่เราจะเปิดคอมพิวเตอร์นั้นมีกระบวนการอย่างไร?? ซึ่งการทำงานของคอมพิวเตอร์ ( Boot Up ) ก่อนที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้นั้นจะต้องนำเอาระบบปฏิบัติการเข้าไปเก็บไว้ยังหน่วยความจำของเครื่องเสียก่อน กระบวนการนี้เรียกว่า การบู๊ตเครื่อง ( boot ) นั่นเอง ซึ่งจะเริ่มทำงานทันทีตั้งแต่เปิดสวิทซ์เครื่องนะคะ จะมีขั้นตอนที่พอสรุปได้ดังต่อไปนี้ ไปดูกันเลยยค่ะ....


ขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ Boot Up


1. พาวเวอร์ซัพพลายส่งสัญญาณไปให้ซีพียูเริ่มทำงาน  ในคอมพิวเตอร์จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า พาวเวอร์ซัพพลาย      ( power supply ) ทำหน้าที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าไปให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะเริ่มต้นทำงานทันทีเมื่อเรากดปุ่มเปิด ( Power ON ) และเมื่อเริ่มทำงานก็จะมีสัญญาณส่งไปบอกซีพียูด้วย (เรียกว่าสัญญาณ Power Good )

2. ซีพียูจะสั่งให้ไบออสทำงาน ทันทีที่มีกระแสไฟฟ้าจ่ายมายังคอมพิวเตอร์และมีสัญญาณให้เริ่มทำงาน หน่วยประมวลกลางหรือซีพียูจะพยายามเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในไบออสเพื่อทำงานตามชุดคำสั่งที่เก็บไว้โดยทันที

3. เริ่มทำงานตามกระบวนการที่เรียกว่า POST เพื่อเช็คอุปกรณ์ต่าง ๆ กระบวนการ POST (power on self test) เป็นโปรแกรมส่วนหนึ่งในไบออสซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ด , RAM , ซีพียู รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ เช่น คีย์บอร์ดหรือเมาส์ ซึ่งเราสามารถสังเกตผลการตรวจสอบนี้ได้ทั้งจากข้อความที่ปรากฏบนจอภาพในระหว่างบู๊ต และจากเสียงสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ส่งออกมา (ซึ่งเป็นประโยชน์ในการที่แสดงผลทางจอภาพไม่ขึ้น) โดยปกติถ้าการตรวจสอบเรียบร้อยและไม่มีปัญหาใด ๆ ก็จะส่งสัญญาณปี๊บสั้น ๆ 1 ครั้ง แต่หากมีอาการผิดปกติจะส่งสัญญาณที่มีรหัสเสียงสั้นและยาวต่างกันแล้วแต่ข้อผิดพลาด (error ) ที่พบ เช่น ถ้าเป็นข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการ์ดแสดงผลจะส่งสัญญาณเป็นเสียงยาว 1 ครั้ง สั้น 3 ครั้ง ทั้งนี้ไบออสแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็จะมีรหัสสัญญาณที่แตกต่างกัน

4. ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่อยู่ในซีมอส ข้อมูลของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งแล้วในเครื่องหรือค่า configuration จะถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำที่เรียกว่า ซีมอส (CMOS – complementary metal oxide semiconductor ) ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าปริมาณเล็กน้อยในการหล่อเลี้ยง โดยใช้แบตเตอรี่ตัวเล็ก ๆ บนเมนบอร์ด เพื่อให้เครื่องสามารถจำค่าต่าง ๆ ไว้ได้ ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST นี้ จะถูกนำมาตรวจสอบกับข้อมูลซีมอส ถ้าถูกต้องตรงกันก็ทำงานต่อได้ ไม่เช่นนั้นต้องแจ้งผู้ใช้ให้แก้ไขข้อมูลก่อน

5. ไบออสจะอ่านโปรแกรมสำหรับบู๊ตจากฟล็อปปี้ดิสก์ ซีดีหรือฮาร์ดดิสก์ ขั้นถัดไปไบออสจะเข้าไปอ่านโปรแกรมสำหรับการบู๊ตระบบปฏิบัติการจากเซกเตอร์แรกของฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์ หรือซีดีรอม โดยที่ไบออสจะมีความสามารถในการติดต่อกับอุปกรณ์เหล่านั้นได้

6. โปรแกรมส่วนสำคัญจะถูกถ่ายค่าลงหน่วยความจำ RAM เมื่อไบออสรู้จักระบบไฟล์ของไดรว์ที่บู๊ตได้แล้วก็จะไปอ่านโปรแกรมส่วนสำคัญของระบบปฏิบัติการที่เรียกว่าเคอร์เนล ( kernel ) เข้ามาเก็บในหน่วยความจำหลักหรือ RAM ของคอมพิวเตอร์เสียก่อน

7. ระบบปฏิบัติการในหน่วยความจำเข้าควบคุมเครื่องและแสดงผลลัพธ์ เคอร์เนลที่ถูกถ่ายโอนลงหน่วยความจำนั้นจะเข้าไปควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์โดยรวมและโหลดค่า configuration ต่าง ๆ พร้อมทั้งแสดงผลออกมาที่เดสก์ท็อปของผู้ใช้เพื่อรอรับคำสั่งการทำงานต่อไป ซึ่งปัจจุบันในระบบปฏิบัติการใหม่ ๆ จะมีส่วนประสานงานกับผู้ใช้แบบกราฟิกหรือ GUI เพื่อสนับสนุนให้การใช้งานกับคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้นกว่าเดิมอีก

--->>> ประเภทของการบู๊ตเครื่อง จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นนะคะ คือ ขั้นตอนที่คอมพิวเตอร์เริ่มทำการโหลดระบบปฏิบัติการเข้าไปไว้ในหน่วยความจำ RAM ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกันค่ะ

                   โคลด์บู๊ต ( Cold boot ) เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง ( Power On ) แล้วเข้าสู่กระบวนการทำงานโดยทันที ปุ่มเปิดเครื่องนี้จะอยู่บนตัวเคสของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ปิดเปิดการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเหมือนกับสวิทช์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป

                   วอร์มบู๊ต ( Warm boot ) เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า การรีสตาร์ทเครื่อง ( restart ) โดยมากจะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ (เครื่องแฮงค์) ซึ่งจำเป็นต้องมีการบู๊ตเครื่องกันใหม่ สามารถทำได้ 3 วิธีคือ
         - กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง (ถ้ามี)
         - กดปุ่ม Ctrl + Alt + Delete จากแป้นพิมพ์ แล้วเลือกคำสั่ง restart จากระบบปฏิบัติการที่ใช้
สั่งรีสตาร์ทเครื่องจากเมนูบนระบบปฏิบัติการ



---- ขอบคุณค่ะ ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ เจอกันงานต่อไปค่ะ -----


วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559


รีวิวการถอดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเเละการออนนอกเครื่องด้วยเมนบอร์ด


               สวัสดีค่ะเรามาดูวิธีการถอด แกะ งัดแงะอะไรก็ว่ากันไป แต่วันนี้จะมารวิวการถอดอุปกรณ์คอมและพอถอดละจะประกอบได้ไหม จะสามารถออนนอกเครื่องได้รึป่าว??มาดูกันเลยค่ะ


อุปกรณ์หลักๆก็จะมีดังนี้ค่ะ

1. ไขควง
2. ปลั๊กไฟ

---------------เพื่อความสมจริงวันนี้เราจะมาดูวีดีโอกันเลยค่ะ------------------


   
                                         ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ.. อิอิ