วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559


การเปลี่ยนรหัสผ่าน/ลืมรหัสผ่านใน  Linux Ubuntu
          สวัสดีค่ะสำหรับวันนี้เราจะมาดูกันนะคะว่าถ้าสมมติอยู่ดีดี วันดีคืนดีเราเกิดลืมรหัสผ่าน Linux Ubuntu ซวยเลยนะคะถ้าเป็นแบบนั้น ยิ่งถ้าอาจารย์ใช้ในการเรียนการสอน แล้วอาจารย์สั่งงาน แต่เราดันลืมรหัสผ่านซะงั้น ถ้าคิดแล้วคิดอีกว่ารหัสคืออะไร?? ก็ยังคิดไม่ออก จนทำให้นึกว่าจะต้องลงใหม่เลยยิ่งซวยกันไปอีก แต่มันมีวิธีแก้ด้วยแหระ มาดูกันเลยค่ะ ว่าวิธีที่ว่ามันจะเป็นยังไง??

  1.       เลือกที่ Advanced options for Ubuntu แล้วกด enter ค่ะ

2.       จากนั้นให้เลือก recovery mode แล้วกด enter นะคะ

3.       เลือก root แล้วกด enter นะคะ

4.       ในหน้า Terminal ที่ให้เราพิมพ์คำสั่งต่าง ๆ ลงไป mount -o,remount /

5.       จากนั้นพิมพ์คำสั่ง   ls /home ตามลงไป เพื่อตรวจสอบชื่อผู้ใช้ในระบบของผู้ใช้งานค่ะ


6.       พิมพ์ passwd s137 แล้วกด Enter

7.       จากนั้นข้อความ "Enter new UNIX password: "  ก็จะขึ้นมา ให้กรอกรหัสผ่านใหม่ สมมุติรหัสผ่านใหม่เป็น 1234567 เสร็จแล้วกด enter

8.       หลังจากกำหนดรหัสผ่านใหม่เสร็จ ก็ให้พิมพ์คำสั่ง "exit" ได้เลย
9.       หลังจากนั้นให้เลือก  resume แล้วกด ok



10.   ขั้นสุดท้ายให้กรอก Username กับ Password  เพื่อเข้าสู่ระบบ


      ---  เป็นไงบ้างคะ ง่ายเลยใช่ไหมหละ สำหรับสัปดาห์นี้พอเท่านี้ก่อน เจอกันงานหน้านะคะ----



วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559


ประกอบคอมพิวเตอร์ 2
               สวัสดีค่ะ ครั้งนี้เราวันนี้เราจะมาเลือกซื้ออุปกรณ์ในการประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยราคา 16000 บาท ไปดูเลยค่ะว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง??


-----------------   เรามาดูแนวทางในการเลือกซื้ออุปกรณ์แต่ละชิ้นกันเลยค่ะ -----------------------------
1.การเลือกซื้อซีพียู
การเลือกซื้อซีพียูต้องพิจารณาเรื่องความเร็ว ความเร็วขั้นต่ำแปรเปลี่ยนไปตามเวลา โดยปกติจะดูว่าซื้อเพื่ออะไร เช่นถ้าซื้อใช้งานเป็นเพียงอินเทอร์เน็ตบราวเซอร์ในห้องเรียนให้นิสิตใช้ เพื่อเป็นการเรียกเข้าสู่อินเทอร์เน็ต สามารถใช้ซีพียูรุ่นต่ำที่มีขายในปัจจุบันราคาซีพียูในระดับต่ำนี้ การตัดสินใจจะเลือกซื้ออะไรมาใช้ คงต้องลองศึกษาจากหลายๆ องค์ประกอบ โดยเฉพาะการมองหารายละเอียด ข้อดี ข้อเสีย รวมทั้งงบประมาณการลงทุนต่างๆ ที่มีอยู่ด้วย เทคนิคที่เกี่ยวกับซีพียูทั้งสองด้านนี้ สามารถหาได้ได้จากเว็บไซต์ของบริษัท คือwww.amd.com และ www.intel.com ผู้สนใจลองทำการศึกษาอย่างน้อยเป็นความรู้ที่จะมีประโยชน์ต่อไป
อันดับ แรกที่เราควรให้ความสำคัญ ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจำมาประกอบเอง หรือซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเซตก็ตาม คือการเลือกซีพียูนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นรุ่นและความเร็วของซีพียูตามระดับการใช้งานของเรา เพื่อเราจะได้ทราบรูปแบบอินเทอร์เฟส (Socket) สำหรับติดตั้งบนเมนบอร์ด เพื่อเลือกซื้อเมนบอร์ดที่ตรงกับรุ่นของซีพียูต่อไป
          - ซีพียูที่เลือกซื้อมีราคา 3,500 บาท รายละเอียดดังนี้เลยค่ะ


2.  เลือกซื้อเมนบอร์ด

  คนส่วนใหญ่ที่กำลังจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มักหาข้อมูลทำการบ้านแต่เฉพาะในส่วนหลักสองส่วนใหญ่ ก็คือ ซีพียู และ กราฟฟิคการ์ด ซึ่งก็จริงที่ทั้งสองส่วนนี้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนที่ได้ฟังสเปกสองตัวนี้ถึงกับร้องอู้หู้เมื่อได้ยินว่าเราใช้ Intel® Core i7 940 หรือ ได้ยินว่าเราใช้กราฟฟิคการ์ด NVIDIA Geforce295GTX เพราะทั้งสองส่วนนี้เป็นตัวที่ตอบสนองความแรงในการประมวลผลไม่ว่าด้านตัวเลข หรือ ภาพ 3D แต่เคยมีใครได้สังเกตไหมว่าจริงๆ แล้วเรายอมลดสเปกอุปกรณ์บางอย่างลงไปเพื่อให้ได้มาซึ่งซีพียูหรือกราฟฟิกการ์ดที่แรง แต่เรากลับไม่ได้สนใจว่าเมนบอร์ดที่เราซื้อเพื่อใช้กับซีพียูและกราฟฟิกการ์ดนี้ มีประสิทธิภาพที่จะดึงความสามารถของซีพียู กราฟฟิกการ์ด และ ทนทานต่อการใช้งานอย่างต่อเนื่องของเราเพียงใด เทคโนโลยีที่ใช้เป็นอย่างไร มีซอฟท์แวร์ที่มาพร้อมกับเมนบอร์ดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มความปลอดภัย และ ความสะดวกให้กับเราไหม เพราะตอนนี้ซอฟท์แวร์ที่มาพร้อมกับตัวเมนบอร์ดอาจจะเป็นตัวตัดสินที่ทำให้ผู้ใช้ตัดสินใจเลือกใช้เมนบอร์ดด้วยส่วนหนึง เกริ่นมาซะเยอะแล้ว วันนี้จะนำความรู้ดีๆ มาช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อเมนบอร์ดคุณภาพดีดีกันค่ะ ตามมาดูกันเลยค่ะ
            Main Board หรือ Motherboard คือ แผงวงจรหลักทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์ต่างๆ เพื่อทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทั้งหมดที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู หน่วยความจำ ฮาร์ดไดรฟ์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีรอมไดรฟ์ ที่ผ่านทางสายเคเบิลหรือแม้แต่การ์ดแสดงผล และการ์ดเสียงก็ล้วนแล้วแต่ต้องทำงานเข้ากันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีเสถียรภาพ
             เมนบอร์ดในปัจจุบันที่เราพบเห็นในตลาดมีสองค่ายเท่านั้นเองครับ อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่ามีแค่สองบริษัทที่ขายเมนบอร์ดไม่ใช่แบบนั้นครับ แต่หมายความว่ามีเมนบอร์ดที่ซัพพอร์ตซีพียูระหว่าง Intel® และ AMD เท่านั้นนะคะ แต่ผู้ผลิตเมนบอร์ดมีอยู่มากมายหลายบริษัทให้เราเลือกใช้ โดยแต่ละบริษัทก็มีจุดเด่น จุดด้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวสินค้าที่ออกมาว่าจะโดนใจใครหลายคนหรือเปล่า แต่อย่างที่เกริ่นไว้ตั้งแต่ต้นค่ะว่า ปัจจุบันการต่อสู้ทางการตลาดของสินค้าประเภทเมนบอร์ดไม่ได้วัดกันที่เฉพาะอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บนเมนบอร์ด หรือ แค่สเปกของเมนบอร์ดเท่านั้น แต่ยังต้องรวมถึงซอฟท์แวร์ยูทิลิตี้ที่มาพร้อมกับเมนบอร์ดด้วย ว่าสามารถทำประโยชน์ และเพิ่มความสามารถในการใช้งานเมนบอร์ดในด้านใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มความเร็วให้กับซีพียู เพิ่มความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพิ่มเติม คราวนี้ผมจะแยกส่วนสาระสำคัญของฮาร์ดแวร์ที่อยู่บนเมนบอร์ด เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้กับผู้อ่าน เพื่อที่จะตัดสินใจในการครอบครองเมนบอร์ดได้อย่างถูกต้อง และได้ใช้ประโยชน์สูงสุดค่ะ
     - เมนบอร์ดที่เลือกซื้อมีราคา 3,200 บาท รายละเอียดดังนี้เลยค่ะ



3.      เลือกซื้อแรม
1.ประเภทของแรม
สำหรับคนที่จะซื้อในขนาดนี้จะมีอยู่ 2 ประเภท
1.1 DDR 2
มีความนิยมเป็นอย่างยิ่งถือเป็นแรมตลาดเลยที่เดียว  เพราะในปัจจุบันนี้เมนบอร์ดเองก็สามารถรองรับการทำงานของแรมชนิดนี้ได้หมดแล้ว  ราคาในขณะนี้ก็มีราคาที่ไม่แพงเลยเมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ  และในเรื่องของความเร็วก็สามารถใช้ได้เร็วมากเลยที่เดียว  มีความเร็วตั้งแต่ 400-1,066 MIz ใช้แรงดันไฟฟ้า 1.8 V
 1.2  DDR3
เป็นแรมประเภทมี่พึ่งมาใหม่ล่าสุดเลย  ซึ่งมีความเร็วสูงสุด  ถึง 1,600-2,000 MHz ใช้แรงดันไฟฟ้าแค่เพียง 1.5 V เท่านั้น  ถือได้ว่ามีความเร็วสูงกว่าทุกประเภทแต่ปัจจุบันนี้ได้มี DDR4  ที่สำคัญ DDR3กับ DDR2 ใช้สล็อตเดียวกันไม่ได้เพราะฉะนั้นแล้วไม่ต้องกลัวว่าจะใส่ผิด

2.หน่วยความจำ
แรมนั้นมีหน่วยความจำหลัก  ที่จำเป็นต้องการความจำสูงเพื่อประสิทธิภาพของการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย  โดยหน่วยความจำของแรมนั้น มีหน่วยเป็น GHz  ยิ่งมีความจำมากก็ทำให้เครื่องเราเร็วขึ้นไปด้วย ราคมของแรมที่มีความจุสูงๆ เดี่ยวนี้ราคาไม่แพงมากนัก  แต่ก็ควรที่จะดูว่าขนาดไหนเหมาะกับเรา  เพื่อจะได้ไม่สิ้นเปลืองมากกว่าปกติ
3.ความเร็ว
ความเร็วหรือว่า บัสของแรมนั้นก็มีความสำคัญเพาะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การถ่ายโดนข้อมูลได้เราขึ้น ซึ่งก็ได้กล่าวไปแล้ว่าประเภทของแรมนั้นก็มีความเร็วที่แตกต่างกัน  แล้วก็ต้องขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดเราอีกนั้นล่ะว่าจะรองรับได้มากแค่ไหน  หรือถ้าใครซื้อแรมชนิดไหนก็ได้ที่มีความเร็วสูงไปที่เมนบอร์ดจะรองรับก็สามารถจะใส่ได้เมื่อซื้อแรมที่เป็นประเภทเดียวกันเท่านั้นแต่ความเร็วของแรมก็เท่ากับ  เมนบอร์ดรองรับ  และใครที่ซื้อแรมมา 2 ตัวแต่ มีความเร็วเท่ากัน  มันก็จะใช้แรมที่มีความเร็วต่ำกว่านั้นเอง
4.ก็การเลือกยี่ห้อ
การเลือกยี่ห้อนั้น มีการรับประกันที่แต่ต่างกันนิดหน่อยเท่านั้นเองครับ  อย่างเช่นการเครมที่ไหม้ได้ไม่ได้  รวมทั้งราคาของแรมด้วยประสิทธิภาพจะแตกต่างกันหรือไม่นั้นส่วนตัวผมเอง  ใช่มาหลายยี่ห้อแล้วไม่ต่างกันเลย  เพราะฉะนั้นอยากได้ยี่ห้อไหนรับประกันดีเป็นพอค่ะ 
 - แรมที่เลือกซื้อมีราคา 1,260 บาท รายละเอียดดังนี้เลยค่ะ





4. เลือกซื้อฮาร์ดดิสก์
สำหรับฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่มาก  เพราะฉะนั้นแล้วจึงมีการเลือกซื้อให้เหาะสมกับความต้องการของเรา  ในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ได้มีราคาต่อความจุถูกมาก  และมีความเร็วที่แตกต่างกัน  จะข้อแนะนำการเลือกซื้อดังต่อไปนี้
   1.ประเภทของ ฮาร์ดดิสก์
              ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ๆ กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน  คือ  (สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อภายนอกจะขอกล่าวในลำดันถัดไป)
           – แบบ IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ ที่จะบอกว่ารุ่นเก่าแล้วก็ว่าได้  เพราะว่ามีรุ่นใหม่ที่เร็วกว่าประหยัดทั้งพื้นที่ประทั้งพลังงานได้ดีกว่า  และเมื่อเปรียบเทียบแล้วจะราคาแพงกว่า SATA ด้วยซ้ำ
           – แบบ SATA เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามามนตอนนี้และได้มีความนิยมเป็นอย่างมาก  เพราะว่าในเมนบอร์ดรุ่นใหม่นั้นก็ลองรับได้หมดแล้ว   และมีราคาที่ถูกกว่า ฮาร์ดดิสก์ แบบSATA
            2.ขนาดของความจุ
             ความจุของฮาร์ดดิสก์หรือพื้นจัดเก็บข้อมูล  นั้นมีความสำคัญว่าเราจะใช้งานประเภทใดและต้อง  เลือกความจุขนาดใดใครที่ชอบทำงานด้านมัลติมีเดียก็ต้องเลือกความจุมากๆ ปัจจุบันนี้มีความจุ ถึง 2 GB ไปแล้วซึ่งสามารถเก็บข้อมูลจนลืมไปเลยว่าซื้อมาตอนไหน  ไม่รู้จักเต็มสักที  แต่ก็ยังมีราคาที่สูงอยู่นั้นเอง
             3.ความเร็วรอบ
              ความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์นั้นย่อมมีผลโดยตรงต่อความเร็วของฮาร์ดดิสก์  คือถ้าฮาร์ดดิสก์มีความเร็วรอบสูงแล้ว  ข้อมูลก็จะเคลื่อนมาถึงหัวอ่านได้อย่างรวดเร็วขึ้น  ความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์นั้นมีหน่วยเป็น รอบต่อนาที (rpm)  ในปัจุจบันความเร็วรอบนั้น 5,400-7,200 rpm แล้ว  และยังมีการพัฒนาความเร็วได้ถึง 10,000 rpm
            4.บัฟเฟอร์ของ ฮาร์ดดิสก์
            บัฟเฟอร์ก็คือหน่วยความจำแคชของฮาร์ดดิสก์นั้นเองค่ะ  เป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกความเร็วและประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์   ถ้าเกิดฮาร์ดดิสก์ไหนที่มีขนาดบัฟเฟอร์ขนาดใหญ่ก็จะช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลาที่จะกลับไปนำข้อมูลนั้นมาใช้ซ้ำอีก  โดยการทำงานนั้นจะทำงานรวมกับแรม  แรมจะนำข้อมูลจากบัฟเฟอร์มาใช้โดยตรง  ในปัจจุบันแล้วขนาดบัฟเฟอร์  ก็มีจำนวน 8-32 MB ไปแล้ว
            5.ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล
            ช่วงเวลาในการเข้าถึงข้อมูล (Seek Time) คือช่วงเวลาที่ตำแหน่องบนจานของฮาร์ดดิสก์นั้นหมุนมาพอดีกับตรงที่หัวอ่านพอดี  ความเร็วนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์เอง  ยิ่งมีความเร็วที่น้อยก็สามารถที่จะทำให้ฮาร์ดดิสก์นั้นอ่านเขียนได้เร็วขึ้น
             มารู้จักเทคโนโลยีไฮบริด (Hybrid) ฮาร์ดดิสก์แบบนั้นคือเป็นเทคโนโลยีที่นำหน่วยความจำมาเป็นแฟลช  มาทำงานร่วมกับฮาร์ดดิสก์โดยลักษณะจะเหมือนการทำงานของแฟลชไดร์  โดยหน่วยความจำที่นำมาใช้นั้นจะช่วยเพิ่มที่จะช่วยโหลดไฟล์ที่ใช้งานบ่อยๆ  หรือเก็บมาไว้ใช้ชั่วคราว  ก็ช่วยเพิ่มทั้งความปลอดภัยและความรวดเร็วของของมูล
  - ฮาร์ดดิสก์ที่เลือกซื้อมีราคา 2,490บาท รายละเอียดดังนี้เลยค่ะ
                       



การติดตั้ง Ubuntu Server ใน Virtual Box
        สวัสดีค่ะ  สัปดาห์นี้เรามาทดลองติดตั้ง Ubuntu Server ในVirtual Box กัน ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักกับ Virtual Box และ Ubuntu Server กันค่ะ



VirtualBox (โปรแกรม VirtualBox โปรแกรมจำลองวินโดวส์) : สำหรับในส่วนของ โปรแกรม VirtualBox เป็นโปรแกรมจำลองวินโดวส์ พัฒนาโดยค่าย Oracle มันเป็นโปรแกรมที่เอาไว้จำลองวินโดวส์ หรือ จำลองคอมพิวเตอร์ เหมือนเรามีคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วเราใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดิม เครื่องเดียวกัน โดยคุณสามารถที่จะลงระบบปฏิบัติการ (OS) อะไรก็ได้ที่อยากจะทดลองใช้ หรือว่าจะทดลองติดตั้งโปรแกรมก่อนลงเครื่องจริงๆ นั่นเอง
นับว่าโปรแกรม VirtualBox เป็น โปรแกรมจำลองวินโดวส์ ที่มีประโยชน์มากๆ คุณสมบัติเหมือนกับโปรแกรม VMware ที่เป็น Shareware แต่สำหรับ โปรแกรมจำลองวินโดวส์ VirtualBox นี้ปล่อยให้ดาวน์โหลดฟรี รองรับทั้งระบบปฏิบัติการ Windows, Linux และ Mac โปรแกรมจำลองวินโดวส์ นี้ถูกออกแบบมาให้ใช้ได้ทั้งฝั่ง Client และ Server ใช้งานได้ไม่ยาก เหมาะกับนักเรียน นักศึกษา และผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกระดับ สนับสนุนการใช้งานแบบลากแล้ววางวัตถุ (Drag-and-Drop) ซึ่งง่ายมากๆ สำหรับผู้ใช้งาน หรือแม้แต่ผู้ทีเริ่มต้นใช้งานอีกด้วย
โดยโปรแกรมจำลองวินโดวส์ VirtualBox จะมีโฟลเดอร์ "Shared Folders" ที่ให้คุณได้เข้าถึงไฟล์ภายในระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันในขณะที่คุณใช้ VirtualBox ได้ นอกจากนี้การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น แฟลชไดร์ฟ ที่สนับสนุนการเชื่อมต่อพอร์ต USB ในเวอร์ชั่น 3.0 แล้ว ให้รับส่งข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็ว แรง ถึงขีดสุด หรือแม้แต่ ฮาร์ดดิสก์พกพา ก็ทำได้อย่างรวดเร็ว และง่ายดายอีกด้วยละผ่านพอร์ต USB 3.0



รูปตัวอย่าง Screenshot การใช้งานของ โปรแกรมจำลองวินโดวส์ VirtualBox


เรามาดูการติดตั้ง Ubuntu 10.04 LTS บน VirtualBox (Windows host)
1.      ใส่แผ่น Ubuntu 10.04 แล้วทำการเปิดโปรแกรม VirtualBox ขึ้นมาหลังจากนั้นคลิกที่ปุ่ม Start (สำหรับการติดตั้ง Ubuntu แนะนำให้ต่ออินเตอร์เนตด้วยนะคะ)


2.คลิกเลือก Do not show this message again แล้วคลิกปุ่ม OK




3.คลิกปุ่ม Next


4.เลือกไดร์ซีดีรอมที่ใส่แผ่น Ubuntu 10.04 แล้วคลิกปุ่ม Next


5.คลิกปุ่ม Start



6.หลังจากนั้นโปรแกรมจะเริ่มอ่านแผ่นซีดี และแสดงหน้าต่างเล็กๆสองหน้าต่างดังภาพ ให้คลิกเลือก Do not show this message again แล้วคลิกปุ่ม OK ทั้งสองหน้าต่างเลยครับ

 


7.คลิกที่ปุ่ม Install Ubuntu 10.04 LTS


8.ในหัวข้อ Region : ให้เลือกเป็น Asia และ หัวข้อ Time Zone : ให้เลือกเป็น Thailand Time แล้วคลิกปุ่ม Forward



9.คลิกเลือก Suggested option: USA แล้วคลิกปุ่ม Forward



10.คลิกเลือก Erase and use the entire disk (เพื่อทำการลบและเลือกที่ว่างบนดิสทั้งหมดสำหรับติดตั้ง Ubuntu) หลังจากนั้นคลิกปุ่ม Forward



11.ทำการกำหนดชื่อของเรา, ชื่อสำหรับล็อกอิน, รหัสผ่าน และชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วคลิกที่ปุ่ม Forward



12.โปรแกรมจะทวนค่าทั้งหมดที่เรากำหนดเพื่อให้ตรวจสอบอีกครั้ง หากทุกอย่างถูกต้องให้คลิกที่ปุ่ม Install ได้เลยครับ


13.รอการติดตั้ง Ubuntu ซักพักใหญๆ เลยครับ



14.คลิกที่ปุ่ม Restart Now



15.แผ่นซีดีจะดีดออกมาเองครับ และจะขึ้นหน้าต่างดังภาพให้กดปุ่ม Enter หนึ่งครั้งครับ เพื่อทำการรีสตาร์ท (ในขณะที่กำลังบูตระบบขึ้นมาใหม่หากมีหน้าต่างอะไรแสดงขึ้นมาให้คลิกเลือก Do not show this message again แล้วคลิกปุ่ม OK ได้เลยครับ)



16.หลังจากรีสตาร์ทขึ้นมาและทุกครั้งที่เปิดใช้งาน Ubuntu จะเข้าสู่หน้าต่าง Log in ดังภาพ ให้คลิกเลือกที่ชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราตั้งไว้ (ในที่นี้คือ embeddedthailand) แล้วใส่รหัสผ่านที่เราตั้งไว้ตอนติดตั้ง หลังจากนั้นคลิกที่ปุ่ม Log in



17.ติดตั้งเสร็จเรียนร้อยแล้วครับ จะขึ้นหน้าต่างดังภาพเลยครับ ลองเล่นดูไม่ยากครับ